วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

 ยาสมุนไพรไทย

ชัยพฤกษ์
 


         

            ไม้ชนิดนี้เป็นพันธุ์ไม้ทิ้งใบ ขนาดกลาง สูง 3-10 เมตร โตวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 ซม. พบขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะดอกงามสะดุดตา
           ทางภาคเหนือ เรียกไม้นี้ว่า “ลมแล้ง,คูน” ภาคกลางเรียกว่า “ราชพฤกษ์ ” เปลือกของชัยพฤกษ์ ตามธรรมดาเกลี้ยงต้นแก่อาจขรุขระ เป็นเกล็ดเล็กบ้าง สีเขียวถึงเทาคล้ำ เวลาสับดูสีแดงกล้ำ
           ใบเป็นแบบใบผสม ออกสลับกัน ช่อใบยาวประมาณ  7-12 ซม.รูปไข่ค่อยโค้งไปหาปลายซึ่งแหลมทู่ๆ  เกลี้ยงไม่มีขน เว้นใบอ่อน
            ดอกหนึ่งๆใหญ่ กลีบสีเหลือง มี 5 กลีบ ขนาดใหญ่เกือบเท่ากันหมด เว้นแต่กลีบกลางที่ใหญ่กว่าเพื่อน เกสรมีจำนวนถึง 10 แต่ 3 อันยาวกว่าเพื่อน ช่อดอกยาวห้อยลง ออกเป็นคู่หรือมากช่อตามง่ามใบ
            ในถิ่นของชัยพฤกษ์นั้น ไม้นี้ทิ้งใบหมด เวลาออกดอกในแล้ง จึงทำให้ดูงดงามสะดุดตามาก เวลาออกดอกในฤดูแล้ง จึงทำให้ดูงดงามสะดุดตามาก แต่บางต้นและบางท้องถิ่นอาจออกดอกในขณะที่มีใบด้วยผลเป็นฝักกลม เวลาแก่ ผิวมีสีช็อกโกแลตแก่และไม่แตก ภายในเป็นชั้นเรียงนอนเป็นชั้นๆ ชั้นหนึ่งมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ฝังอยู่ในเนื้อสีน้ำตาลคล้ำ ซึ่งมีรสหวาน
            เนื้อไม่สีแดงเข้ม แข็ง แต่ไม่ทนทาน ทั้งเนื้อไม้และเปลือกชาวบ้านใช้กินกับหมาก หรือทำเป็นน้ำฝาดใช้ในการฟอกหนัง
สรรพคุณทางยาสมุนไพร ใบ ใช้เข้ายา เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อนๆ
ชา

              พันธุ์ไม้ชนิดนี้ไม่ทิ้งใบพบขึ้นตามป่าดิบบนภูเขาบางแห่งทางภาคเหนือของประเทศไทย และมีชื่อพื้นเมืองว่า “เมี่ยง” ใบของต้นชา เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน โคลนใบรูปไข่กลับ ค่อยๆเรียวไปหาปลายมีขอบยักเล็กๆ ใบหนาเป็นมัน แต่ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ดอกออกที่ง่ามใบเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม 2-4 ดอกมีกลิ่นหอม ดอกหนึ่งๆ มีกลีบสีขาวหรือขาวอมชมพูเกสรมีมากสีเหลือง ผลสีน้ำตาลแกมเขียว ถิ่นเดิมของต้นชา สันนิษฐานว่าจะอยู่บริเวณยอดน้ำของแม่น้ำอิรวดี แล้ว แพร่กระจายเข้าไปทางต้อนใต้ของประเทศจีน ทางแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย และแหลมอินโดจีน จากแหล่งทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาได้มีผู้นำไปปลูกทั่วโลก ประเทศจีนเองรู้จักชามาร่วม 2000-3000 ปีแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่าเป็นที่แปลกใจที่ชาจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งชนิดหนึ่งของโลก ต้นชาขึ้นได้ดีตามบริเวณกึ่งร้อนและบนภูเขาในเขตร้อน ต้นชาที่ปลูกตามสวนแยกเป็น 2 พันธุ์ คือ พันธุ์จีนซึ่งต้นเตี้ยแคระทนทานต่อความหนาวจัดและความรุนแรงของดินฟ้าอากาศได้ดี อีกพันธุ์หนึ่งนั้นเป็นพันธุ์อัสสัม ซึ่งสูงโตเร็ว เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศเขตร้อน  ต้นชาปลูกตามที่สวนอาจแยกได้เป็น 2 พันธุ์  คือ จีนซึ่งต้นเตี้ยแคระทนทานต่อความหนาวจัดและความรุนแรงดินฟ้าอากาศได้ดี อีกพันธุ์หนึ่งนั้นเป็นพันธุ์อัสสัม ซึ่งสูงโตเร็ว เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศเขตร้อนโดยปรกติใบชาใช้ชงกินกับน้ำร้อนกินเป็นเครื่องดื่ม แต่ทางภาคเหนือของประเทศไทยใช้นึ่งแล้วหมัก เรียกว่า “ใบเมี่ยง” ชาวท้องถิ่นอมหรือกินเมี่ยงเหมือนกับหมาก
             สรรพคุณทางยาสมุนไพร คือ ใบชา มีส่วนกระตุ้นให้หายเหนื่อย ไม่ง่วงนอน ใช้เป็นยาฝาดสมานอาการท้องร่วง พอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนหลอก ช่วยบำรุงหัวใจ แก้กระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อย แก้ร้อนใน แก้หืด แก้ปากเปื่อย แก้ตกโลหิต แก้บวม แก้เน่าเปื่อย แก้พยาธิ แก้ตาอักเสบ รักษาโรคเกลื้อน ช่วยบำรุงประสาท
ช้างน้าว

            เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก เป็นไม้ผลัดใบพบขึ้นทั่วๆไปตามป่าเบญจพรรณ แล้งง ลำต้นตรง มีกิ่งสาขามาก เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก ใบเดี่ยวรูปรีๆ เรียงสลับกันขอบจักละเอียด ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันเลื่อม ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อสั้นๆตามกิ่งแก่ ผลกลมรีสุกสีดำ ดอกหนึ่งมี 2-3 ผลตั้งอยู่บนฐานสีแดงเข้ม
            พันธุ์ไม้ชนิดนี้เวลาออกดอกทิ้งใบหมด ดูเหลืองเต็มต้น แต่ดอกบานเพียงวันเดียว กลีบดอกหลุดล่วงไป บางทีเรียกกันว่า ตาลเหลือง กระแจ หรือจำปาน้ำ แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บางจังหวัดทางภาคกลางใช้เปลือกเคี้ยวกับหมากแทนเสียดสี
สรรพคุณทางยาสมุนไพร เป็นตัวยาที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ยาสมุนไพรอื่นๆออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น หรือตัวเข้ายา

ช้างร้องไห้

              ชื่อเรียกพันไม้จำพวกหมาก  เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นใหญ่ขนาดต้นมะพร้าว ใบใหญ่คล้ายใบตาล แต่พับไม่เป็นระเบียบ ก้านใบไม่มีหนาม จักลึกเกือบโคนก้านใบ ผลรูปไข่ ผิวบางเนื้อน้อย ผลหนึ่งมี 3 เมล็ด เมล็ดแข็งมีขนหุ้มพันธุ์ไม้ชนิดนี้พบขึ้นทั่วไปตามป่าดิบทางภาคใต้ พบมากในท้องที่อำเภอ พะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
สรรพคุณทางยาสมุนไพร เมล็ดใช้เป็นยาฝาดสมานแผล
ช้างแห

               เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 15 เมตร กิ่งอ่อนและใบมีขนกระจุกทั่วไป ใบเดี่ยวเรียงสลับกันรวมเป็นกลุ่มตามปลายกิ่งก้านใบ ตัวใบตอนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบ โคนหยักเว้าตื้นดอกเล็กออกเป็นช่อสั้นตามง่ามใบ ผลผิวแข็งเป็นตุ่มขรุขระมี 5 พู แก่จัดแยกออกจากกันเกือบตลอดผลเป็น 5 เสี่ยง แต่ละเสี่ยงมีขนแข็งสีน้ำตามอ่อนปกคลุม ขนนี้เป็นพิษทำให้เกิดอาการระคายเคือง
               พันธุ์ไม้ชนิดนี้พบขึ้นตามที่ต่างๆ ทั่วไปในป่าดิบชื้น ทางภาคใต้บางทีเรียกกันว่า ช้างแหก กล่าวว่าเมื่อผลแก่ร่วงหล่นลงในลำธารผู้บริโภคน้ำในลำธารจะเกิดอาการระคายเคืองในลำคอ
               สรรพคุณทางยาสมุนไพร ใช้ผนังของผลคั้นเอาน้ำหรือเผาเป็นเถ้าผสมน้ำดื่มเพื่อขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยเป็นกามโคเช่นหนองใน
ดีนาคราช

            ต้นนาคราชเป็นไม้เถาต้นเตี้ย ส่วนของใบแยกเป็นเกล็ดเล็กๆดูคล้ายเกล็ดงู ชาวชวากินหน่อเล็กๆซึ่ง “ขม” ต่างอาหารและบางส่วนก็เป็นยาด้วย เท่าที่ทราบในเมืองไทยมีหลายชนิดด้วยกัน และมีชื่อไทยต่างกันด้วย เช่น กับแก้ (พายัพ) หรือ ตุ๊กแก (อีสาน)
              สรรพคุณทางยาสมุนไพร แก้โรคปวดศีรษะ ใช้แก้โรคปวดท้อง และใช้ประคบสำหรับโรคข้อและหืด ก็ใช้ดื่มเมื่อหลังคลอดบุตรเพื่อบำรุงมารดา รับประทานแก้ไข้สูง
โด่ไม่รู้ล่ม

              เป็นพันธุ์ไม้ต้นเล็ก ต้นโด่ไม่รู้ล่มพบขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ตามป่าเบญจพรรณและที่แล้งต่าง มีขนแข็งยาวทั่ว
        ใบออกสลับกันแต่อยู่ชิดกัน จึงดูคล้ายกับว่าใบทั้งหมดงอกจากตรงโคน ก้านใบสั้นมาก รูปใบรูปไข่กลับถึงยาว  มีขอบใบขนานกัน ขอบใบมีจักมนๆ หลังใบคล้ายมีฝุ่นหรือเกล็ดที่หลุดง่าย ส่วนเส้นใต้ท้องมีขน ช่อดอกเป็นหัวกลมแบน ดอกหนึ่งๆ มีกลีบผ่าออกเป็น 4 กลีบ มีสีขาวถึงชมพู
            สรรพคุณทางยาสมุนไพร ใบต้มน้ำกินเป็นยาขับถ่ายพยาธิไส้เดือนขับปัสสาวะ ใบและราก เป็นยาคุมกำเนิด และยาบำรุงสำหรับหญิงหลังคลอด  ใช้แก้ไอ และช่วยกระตุ้นกำหนัด ต้น ใช้แก้อักเสบ เป็นยาฝาดสมาน ขับน้ำเหลืองเสีย แก้วัณโรค ดีซ่าน นิ่ว ขัดเบา บด เหน็บชา ท้องมาน ห้ามเลือดกำเดา บำรุงหัวใจ รากและใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องร่วง กระเพาะเป็นแผล ต้มอาบหลังคลอด ราก แก้อาเจียน บดผสมพริกไทย แก้ปวดฟัน บำรุงกำหนัด
ต้อยติ่ง

             เป็นพืชล้มลุก ต้นเป็นพุ่มสูง ลำต้นและเมื่ออ่อนเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ๆ รูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบกลมมน โคนใบแหลม ใบเกลี้ยง ยกเว้นขอบใบ มีขนครุย ขอบใบหยักเล็ก ก้านใบสั้น ดอกสีม่วงสลับขาว ออกเป็นกระจุกข้างง่ามใบ มีใบรองดอกเล็กกลีบรองดอกเลี้ยง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสลับขาวเป็นกรวย ปลายแผ่แยกเป็นสองส่วน ส่วนบนหยักตรงกลางเล็กๆ ปลายสีม่วง ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอกยอดแหลม สีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่ เมื่อแก่จัดหรือถูกน้ำจะแตกเป็น 2 ซีก ตามยาวเมล็ดกลมแบน ถูกน้ำแล้วจะพองแตกออก
            ต้อยติ่งอีกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกันกับชนิดที่กล่าวแล้วข้างต้น เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกันเขตร้อน ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วๆ ไปตามที่ต่างๆ เป็นวัชพืชที่รู้จักกันแพร่หลายมากกว่าชนิดแรก ต้นคล้ายคลึงกับชนิดแรก ใบมีรูปรี หรือหอกกลับ ออกตรงข้ามเป็นคู่ ปลายใบมนกลมกว้างแล้วค่อยๆสอบไปทางโคนใบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย กานใบสั้นดอกมีขนาดใหญ่ออกตามยอด และง่ามใบออกเป็นช่อแต่บานไม่พร้อมกัน มักบานที่ละดอกหรือ 2 ดอก กลีบรองดอกสีขาวโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก เรียวแหลม กลีบดอกสีม่วงเป็นรูปกรวยหงาย ปลายแผ่เป็น 5 แฉกเท่าๆกัน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอกยอดแหลม ฝักเมื่อแก่มีสีน้ำตาลเข้ม ถูกน้ำแตกเป็น 2 ซีก เช่นกัน เมล็ดเหมือนชนิดแรก
            สรรพคุณทางยาสมุนไพร ราก ช่วยทำให้อาเจียนดับพิษ แก้ ปัสสาวะพิการ เมล็ดตำแล้วใช้พอกห้ามเลือด ลดผื่นคัน
ตานหม่อน
เป็นกิ่งไม้เถาว์ลำต้นมีไส้กลวง หรือเป็นเยื่ออ่อนสีขาวๆใบเดี่ยวเรียงสลับกัน เป็นรูปไข่กลับปลายมน กว้างและค่อยๆ สอบแคบมาทางโคนใบ มีขอบเรียบด้านล่างมีขนละเอียดเป็นมัน ช่อดอกออกเป็นกลุ่มมีสีขาวหม่นประม่วงอยู่ตามง่ามใบและปลายกิ่ง เมล็ดจะมีเส้นขนแข็งๆ เป็นแปรงเล็กๆ ล้อมรอบ ทำให้สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลๆ พันธุ์ไม้ชนิดนี้พบขึ้นทั่วไป ตามที่รกร้างว่างเปล่า
สรรพคุณทางยาสมุนไพร คือ ใบและต้น ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ และรักษาลำไส้
ตำลึง

             เป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีขึ้นทั่วไปตามรั้วบ้าน ตามพุ่มไม้ต่างๆตามที่รกร้างว่างเปล่า มือใบเป็นเส้นเดียวและใช้เกาะพันขึ้นตามที่ต่างๆรากอ้วนโต ดูคล้ายเป็นหัว บางท้องถิ่นเรียกว่า “ผักตำลึง (กลาง) ผักแคบ (เหนือ)” ใบ แบบใบเดี่ยว หนา รูปหลายเหลี่ยม ปลายใบอาจเว้าเป็นหลายง่าม มีต่อมใส ตามเส้นใบ ทางท้องใบเกลี้ยงไม่มีขน ดอกจะออกเดี่ยวตามง่ามใบ เกสรตัวและเกสรตัวเมีย แยกอยู่คนละดอก รูปคล้ายระฆัง  ขอบโค้งเว้าเป็น 5 จัก สีขาวนวลมีขนอ่อนผลมีรูปคล้ายแตงกวาขนาดเล็ก เวลาสุกมีสีแดง เมล็ดมีมาก ฝังจมอยู่ในเนื้อ คนไทยนิยมใช้ยอดและตำลึงทำเป็นอาหารกันทั่วไป ผลดิบใช้ดองรับประทานได้
               สรรพคุณทางยาสมุนไพร มัน ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ดับพิษฝี ถอนพิษของตำแย แก้คัน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ ดอก นำมาขยี้ทาแก้คัน เถา ใช้น้ำจากเถา หยอดตาแก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษแก้อักเสบในแผลหนอง เถาใช้ชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศีรษะ รากต้มน้ำรับประทานใช้แก้ตาฝ้า ช่วยลดไข้ แก้คลื่นไส้ อาเจียน
เต่าเกียด



                เป็นชื่อเรียกพันธุ์ไม้ 2 ชนิด เป็นไม้ล้มลุกมีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมขึ้นเป็นกอคล้ายพวกบอน ใบรูปหัวใจ ปลายใบ เรียว แหลมโค้ง โคนใบกว้าง สองข้างใบโคนใบ ห้อยย้อยลงมา ก้านใบยาว โคนเป็นกาบ ดอกออกเป็นแท่งกลมยาวมีกาบหุ้ม เช่นเดียวกับดอกหน้าวัว หรือดอกบอน ชอบขึ้นตามที่แฉะ
             สรรพคุณทางยาสมุนไพร ส่วนที่เป็นยาคือ หัว ใช้ปรับปรุงเป็นยาบำรุงและรักษาโรคเกี่ยวกับตับ และแก้ไข้เชื่อมซึม